สร้างแนวปฏิบัติในการจัดเก็บสินค้าอันตรายอย่างไร ให้เกิดความปลอดภัยภายในคลังสินค้าอย่างสูงสุด

จากเหตุการณ์การระเบิดและเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ของบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด (Ming Dih Chemical) ผู้ผลิตเม็ดโฟม EPS (Expandable Polystyrene) บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อชุมชน บ้านเรือน และอาคารโดยรอบเป็นวงกว้าง นำมาสู่คำถามที่ว่าเราจะสามารถสร้างแนวปฏิบัติในการจัดเก็บสินค้าอันตรายอย่างไรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยภายในคลังสินค้าได้มากกว่านี้หรือไม่?

การทำงานในคลังสินค้า โดยเฉพาะคลังสินค้าที่มีการจัดเก็บสินค้าอันตรายนั้น นอกจากเจ้าของธุรกิจและผู้จัดการคลังสินค้าจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อสินค้าตามแนวปฏิบัติในการจัดเก็บสินค้าอันตรายแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยภายในคลังสินค้าเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานของตน เนื่องจากคลังสินค้าอันตรายส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยเครื่องจักรกลหนัก ระบบไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน สารเคมีต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดและความสูญเสียได้

อย่างไรก็ตาม โอกาสในการเกิดการสูญเสียจะลดลงจนแทบเป็นศูนย์หากคลังสินค้าของคุณตั้งอยู่บนฐานรากที่แข็งแรงและมีการออกแบบและติดตั้งโครงสร้างต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ร่วมกับการติดตั้งระบบเตือนภัยตามจุดเสี่ยงเพื่อช่วยแจ้งเตือนพนักงานและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุ

การกำหนดมาตรฐานสากลในการจัดการสินค้าอันตรายในคลังสินค้าจาก Frasers Property Industrial (Thailand)

ที่ Frasers Property Industrial (Thailand) เราวางแผนและพิจารณาทุกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เราจึงออกแบบและสร้างเฉพาะคลังสินค้าคุณภาพดีที่สุดเพื่อสร้างคลังสินค้าที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและนำเสนอโซลูชันที่ครอบคลุมแก่ลูกค้าของเรา ตั้งแต่การออกแบบและสร้างคลังสินค้าตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมขั้นสูงสุด การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอุปกรณ์ครบครัน การปฏิบัติตามกฎระเบียบในท้องถิ่นที่บังคับใช้ ไปจนถึงการเลือกทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เพื่อการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วที่สุด

นอกจากนี้ เรายังมีการสร้างทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ และติดตั้งตู้เก็บสายส่งน้ำดับเพลิงเป็นระยะอย่างน้อยทุก ๆ 60 เมตร พร้อมด้วยปั๊มดับเพลิงที่เป็นไปตามมาตรฐาน NFPA20 ซึ่งเพียงพอที่จะป้องกันไฟจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รวมถึงมีการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟทั่วทั้งคลังสินค้าของเรา ควบคู่ไปกับระบบเตือนภัยที่จะแจ้งเตือนทุกคนในพื้นที่เมื่อตรวจพบเพลิงไหม้ และที่สำคัญ คลังสินค้าทั้งหมดของเราสร้างขึ้นบนรากฐานที่มั่นคงด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงที่สุดอีกด้วย

คลังสินค้าแต่ละแห่งของเราไม่เพียงแต่จะมีบันไดหนีไฟหลายทางเท่านั้น แต่ยังได้รับการออกแบบให้สามารถเข้าถึงหลังคาได้ง่ายและใช้งานได้จริง ทำให้สามารถเขาถึงทางออกอื่น ๆ ได้ง่าย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง

ที่ Frasers Property Industrial (Thailand) เรามีประสบการณ์มากมายในการจัดการและดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้ามาอย่างยาวนานทำให้เราสามารถคาดการณ์และเข้าใจความต้องการของลูกค้า และมอบประสบการณ์และความพึงพอใจในการเช่าคลังสินค้าให้กับลูกค้าของเราอย่างสูงสุดด้วยมาตรฐานการบริการที่ดีที่สุดสำหรับการเช่าคลังสินค้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกแห่ง ซึ่งคลังสินค้าแต่ละแห่งของเรายังได้รับการรับรองโดยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล จึงสามารถช่วยป้องกันอัคคีภัยจากเหตุระเบิด ไฟไหม้ ไฟฟ้าลัดวงจร หรือสาเหตุอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วจากทั้งภายในและภายนอกอาคาร

คลังสินค้าวัตถุอันตรายของเราสอดคล้องกับมาตรฐานสูงสุด

คลังสินค้าวัตถุอันตราย คือ คลังสินค้าประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุอันตรายที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย เช่น เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง สารพิษ และวัสดุอันตรายอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่การระเบิดได้ ซึ่งสินค้าอันตรายประเภทนี้มักจะเป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เคมีและปิโตรเลียม โดยภายในคลังสินค้าประเภทจำเป็นต้องมีแนวทางในการจำแนกประเภทสารอันตรายและต้องมีการจัดเก็บด้วยวิธีที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟไหม้คลังสินค้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ คลังสินค้าวัตถุอันตรายทั้งหมดของเราจึงได้รับการออกแบบเพื่อจัดเก็บสินค้าอันตรายดังกล่าวโดยเฉพาะตามหลักการและมาตรฐานของพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อย่างเข้มงวด

ที่ Frasers Property Industrial (Thailand) เรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการและพัฒนาคลังสินค้าอันตรายตามมาตรฐานสากล ตลอดจนการจัดหาทีมงานมืออาชีพที่สามารถให้คำแนะนำด้านอุตสาหกรรมและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในทุกแง่มุมเมื่อเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการต้องจัดการกับสินค้าอันตรายในคลังสินค้าได้อย่างมืออาชีพ เพราะสำหรับเรา ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าสุขภาพ ความปลอดภัย และขวัญกำลังใจของพนักงานที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้าของคุณอีกแล้ว

การบริหารความเสี่ยงและแนวทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับคลังสินค้า

1 – ไฟไหม้

คลังสินค้าทั่วไปมักอัดแน่นไปด้วยสินค้าจำนวนมาก ประกายไฟเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอต่อการทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้แนวทางเหล่านี้ในการบรรเทาความเสี่ยงดังกล่าว

  • การติดตั้งระบบดับเพลิง เช่น สปริงเกอร์ ประตูหนีไฟ และถังดับเพลิง
  • หมั่นตรวจสอบระบบตรวจจับอัคคีภัย เช่น สัญญาณเตือนควัน เป็นประจำ
  • อาคารที่มีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดอัคคีภัย
  • พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยอย่างเข้มงวดและตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ขั้นตอนการอพยพที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

2 – น้ำท่วม

น้ำท่วมเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคลังสินค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สามารถนำไปสู่ความเสียหายได้อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งแนวทางในการลดผลกระทบจากน้ำท่วมและความเสียหายจากน้ำท่วมมีดังนี้

  • ติดตามประกาศเตือนอุทกภัยอย่างใกล้ชิดเมื่อมีความเสี่ยง
  • ประเมินและตรวจสอบความเสี่ยงจากอุทกภัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้คุณระบุและทราบถึงกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อความเสียหายจากอุทกภัยเป็นพิเศษได้
  • ตรวจสอบว่าสินค้าทั้งหมดถูกยกสูงขึ้นจากพื้น โดยใช้ชั้นวางระดับสูงในการจัดเก็บสินค้าในภาชนะบรรจุหรือพาเลท
  • ทำความสะอาดท่อระบายน้ำภายนอกและภายในเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เศษขยะและของเสียอื่น ๆ ปิดกั้นทางระบายน้ำ
  • พิจารณาการปิดผนึกพื้น ประตู หน้าต่าง และช่องเปิดอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลท่วมเข้าสู่คลังสินค้า
  • เก็บปลั๊กไฟและสายไฟทั้งหมดไว้เหนือระดับพื้นดิน
  • ให้ความรู้และฝึกอบรมให้พนักงานสามารถตระหนักถึงความเสียหายจากอุทกภัย
  • มีเครื่องสูบน้ำเป็นระบบสำรองในกรณีที่เกิดน้ำท่วม

3 – การรักษาความปลอดภัย

คลังสินค้าเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการโจรกรรม เนื่องจากมักมีสินค้าคงคลังจำนวนมาก ซึ่งการโจรกรรมเหล่านี้อาจมีต้นเหตุมาจากทั้งบุคคลภายในหรือบุคคลภายนอก แต่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยแนวทางดังนี้

  • ตรวจสอบว่าอาณาเขตของคลังสินค้ามีการปิดกั้นและได้รับการดูแลอย่างดี
  • รักษาความปลอดภัยทุกทางเข้า-ออกด้วยระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ
  • มีระบบให้ผู้เข้าเยี่ยมลงทะเบียนก่อนและหลังเข้าออกพื้นที่
  • ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยและเฝ้าระวังทางอิเล็กทรอนิกส์
  • ดำเนินการตรวจสอบความประพฤติของพนักงานเป็นระยะ

4 – การจัดการกับสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นเรื่องปกติที่ภายในคลังสินค้าจะมีการจัดเก็บสารเคมีชนิดต่าง ๆ แต่หากต้องการสร้างความปลอดภัยในคลังสินค้า เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการก็ควรมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการเก็บสารเคมีเหล่านี้ คือ

  • แจ้งพนักงานให้ทราบว่ามีการเก็บสารเคมีไว้ตรงส่วนไหนของคลังสินค้า
  • ฝึกอบรมให้พนักงานรู้จักอันตรายจากสารเคมีต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการจัดการที่เหมาะสมเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน
  • จัดเก็บสารเคมีและสินค้าอันตรายอย่างถูกต้องตามแนวทาง
  • ตรวจสอบว่าสารเคมีทั้งหมดได้รับการติดฉลากกำกับอย่างถูกต้อง
  • แยกสารเคมีบางชนิดที่สามารถทำปฏิกิริยากันออกจากกัน
  • ตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องเมื่อมีการจ่ายวัสดุอันตราย
  • การสัมผัสกับสารเคมีใด ๆ จะต้องดำเนินการในพื้นที่ที่มีอุปกรณ์ระบายอากาศ
  • ให้พนักงานทุกคนสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) อย่างถูกต้องตลอดเวลา
  • มีขั้นตอนปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินที่ปฏิบัติได้จริง
  • ของเสียอันตรายทั้งหมดต้องมีกระบวนการในการกำจัดอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมาย
  • ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่ามีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมและใช้ได้จริง

5 – สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

พนักงานที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้ารายล้อมไปด้วยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละวัน ซึ่งไม่เพียงทำให้พนักงานตกอยู่ในความเสี่ยง แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการได้อีกด้วย โดยแนวทางป้องกันเพื่อสร้างความปลอดภัยในคลังสินค้ามีดังนี้

  • ใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม เช่น รถยก เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการใช้แรงงานคน
  • ฝึกอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเครื่องจักรจะสามารถใช้งานเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกวิธี
  • สนับสนุนให้พนักงานของคุณปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยและรายงานอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา
  • ดำเนินการประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

6 – ความเสียหายของผลิตภัณฑ์

ไม่เพียงแต่ไฟไหม้และน้ำท่วมเท่านั้นที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าคงคลังภายในคลังสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ควรมีการอบรมพนักงานคลังสินค้าให้เข้าใจแนวปฏิบัติในเรื่องต่อไปนี้

  • ดำเนินการตามแนวทางการจัดเก็บสินค้าแต่ละประเภทอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ เช่น ให้ความสนใจกับอุณหภูมิหรือปริมาณของน้ำหนักที่วางซ้อนอย่างระมัดระวัง
  • ของที่มีน้ำหนักมากกว่าต้องวางไว้บนชั้นวางด้านล่างเสมอ
  • ฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการจัดการวัสดุทุกประเภทด้วยตนเองอย่างเหมาะสม
  • ปรับใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อลดโอกาสในการก่อวินาศกรรม
  • ตรวจสอบรายงานการเรียกร้องความเสียหายของผลิตภัณฑ์เป็นประจำเพื่อดำเนินการแก้ไขและ/หรือระบุแนวโน้มใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

7 – ความล้มเหลวของอุปกรณ์

ทุกวันนี้คลังสินค้าต้องพึ่งพาอุปกรณ์และเครื่องจักรหนักจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานให้ราบรื่นที่สุด นอกจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรแล้ว เจ้าของธุรกิจและผู้ผระกอบการยังจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม คือ

  • ตรวจสอบว่าพนักงานได้รับการรับรองอย่างถูกต้องและผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ใช้งานเครื่องจักรที่เป็นอันตราย
  • ระวังความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และตรวจสอบว่าระบบไอทีต่าง ๆ ของคุณได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ
  • เมื่อเป็นเรื่องของการประมวลผล คุณควรเปลี่ยนไปใช้โซลูชันการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียข้อมูลสำคัญและข้อมูลในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ

การระบุอันตรายและการคาดการณ์ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในคลังสินค้า รวมถึงการรับมือและการจัดการเหตุการณ์อย่างมีประสิทธิภาพเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดโอกาสในการสูญเสียและผลกระทบจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างมาก แต่ทว่าคุณภาพของคลังสินค้าก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน Frasers Property Industrial (Thailand) จึงให้ความสำคัญกับการออกแบบและก่อสร้างคลังสินค้าด้วยการคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้าง การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ รวมไปถึงการติดตั้งระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบในทุกมิติ

อ้างอิง: https://www.ilo.org/dyn/legosh/en/f?p=14100:1100:0::NO::P1100_ISO_CODE3,P1100_YEAR:THA,2014