ความท้าทายของห่วงโซ่อุปทานและเคล็ดลับการผลักดันการพัฒนาธุรกิจคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องออกมาตรการปิดประเทศ ทำให้การส่งออกสินค้าที่ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย วิกฤตการณ์ดังกล่าวยังถือเป็นบททดสอบสำคัญของธุรกิจห่วงโซ่อุปทานที่ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ แล้วผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจห่วงโซ่อุปทานจะสามารถอยู่รอดอย่างไรในภาวะวิกฤต? บทความนี้จะมาเผยเคล็ดลับการผลักดันการพัฒนาธุรกิจคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้

สถานการณ์โควิด-19 VS ความท้าทายของธุรกิจห่วงโซ่อุปทาน

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หมายถึง กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบจนสิ้นสุดกระบวนการคือการส่งมอบสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย (End Consumer) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหา (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การขนส่ง (Transportation) การจัดเก็บ (Storage) Warehouse (คลังสินค้า) ไปจนถึงการจัดจำหน่าย (Distribution) ที่ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่อุปทานที่ขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด ธุรกิจห่วงโซ่อุปทานหรือธุรกิจซัพพลายเชนส่วนใหญ่กลับต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน อาทิ

  • การขาดแคลนวัตถุดิบ

    วิกฤตการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกหยุดชะงักเนื่องจากการล็อคดาวน์ของประเทศ ทำให้ธุรกิจห่วงโซ่อุปทานประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศที่อาจได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าวหรือการสั่งปิดโรงงานต่าง ๆ ดังนั้น การมีเงินทุนหมุนเวียนและการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์ที่จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบลงได้

  • ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น

    ค่าขนส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งสร้างความตึงเครียดให้กับผู้ประกอบการจำนวนมาก วิธีหนึ่งที่จะเอาชนะความท้าทายนี้ได้คือการเปลี่ยนไปใช้การขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มคัน (Less Truck Load: LTL) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประหยัดเงินได้มากกว่าด้วยการจ่ายเฉพาะค่าสินค้าที่ขนส่งเท่านั้น

  • การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า

    สถานการณ์โรคระบาดทำให้ยากที่จะคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้านี้เองที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการสินค้าคงคลังของธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นละทิ้งวิธการแบบเดิม ๆ และต้องมองหาชุดข้อมูลใหม่เพื่อสร้างรูปแบบการคาดการณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อความแม่นยำสูงสุด

  • ความแออัดของท่าเรือ

    ความแออัดของท่าเรือได้กลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่ส่งผลให้หลายบริษัทประสบปัญหาในการขนส่งสินค้าและไม่สามารถขนถ่ายสินค้าเพื่อจัดส่งได้ ดังนั้น หลายบริษัทจึงไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามกำหนดการและทำให้ลูกค้าหลายรายเกิดความไม่พอใจ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำคือการแจ้งถึงความล่าช้าและอธิบายเหตุผลอย่างเหมาะสมให้ลูกค้าทราบก่อนล่วงหน้า

  • กระบวนการแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัล

    การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้เร่งการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัล (Digitization) อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ในวิถีปกติใหม่ (New Normal) ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเปิดรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วยการผสานรวมกับรูปแบบการทำงานที่ใช้อยู่ให้เร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้กระบวนการทั้งหมดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เคล็ดลับการผลักดันการพัฒนาธุรกิจคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้

คลังสินค้าถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของคุณไปข้างหน้าในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นข้อมูลและการดำเนินงานของคลังสินค้าได้อย่างเหมาะสมตรงตามความเป็นจริงเพื่อให้สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงทีในทุกมิติ อาทิ

  • การสนับสนุนด้านการผลิต

    มีสินค้าหรือวัตถุดิบมากพอในการสนับสนุนด้านการผลิตให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยลดเวลารอคอยสินค้า

  • โอกาสในการขยายธุรกิจ

    เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจด้วยการใช้บริการเช่าโกดัง เช่าคลังสินค้า และใช้พื้นที่การผลิตที่มีอยู่เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นและนำไปสู่โอกาสใหม่ ๆ

  • การบรรจุและการกระจายสินค้า

    เพิ่มประสิทธิภาพในการบรรจุ จัดส่ง กระจายสินค้า และการจัดการสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบกว่าที่เคย

  • จัดเก็บสินค้า

    จัดเก็บวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้หลัก ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหรือรอคอยซัพพลายเออร์

  • การเงิน

    เพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงินจากการใช้บริการเช่าโกดัง เช่าคลังสินค้า เช่น การกู้ยืมสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือคลังสินค้า ซึ่งอาจช่วยให้คุณจัดหาเงินทุนเพื่อนำไปหมุนเวียนในธุรกิจได้

  • คลังสินค้าบนทำเลทอง

    ผู้ประกอบการอาจได้รับประโยชน์จากการใช้บริการเช่าโกดัง เช่าคลังสินค้าหลายแห่งในทำเลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการขนส่งและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

ห่วงโซ่อุปทานล้วนประสบกับอุปสรรคและความท้าทายอยู่เสมอ สิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้คือการวางระบบที่จะช่วยให้คุณสามารถเอาชนะปัญหามากมายที่อาจเกิดขึ้นด้วยการควบคุมคลังสินค้าของคุณเองร่วมกับการใช้ระบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติเพื่อยกระดับธุรกิจของคุณให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นด้วยบริการโกดังให้เช่าและคลังสินค้าให้เช่าระดับสากล ฟังก์ชันครบครันจาก Frasers Property Industrial Thailand ที่พร้อมรองรับอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกและนำเข้าและเหมาะที่จะใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรองรับการขยายธุรกิจทุกประเภท พร้อมบริการการให้คำแนะนำ แก้ปัญหา และความช่วยเหลือต่าง ๆ อย่างครบวงจร