21 มีนาคม 2567
สถานการณ์ตลาดคลังสินค้าในเขตกรุงเทพฯ กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อันเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง การเป็นผู้นำตลาดจึงหมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจึงมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจทุกประเภท หลายบริษัทเริ่มมองหานวัตกรรมโซลูชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานทางธุรกิจและรักษาความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และหลายธุรกิจได้เปลี่ยนการใช้ระบบคลังสินค้าแบบเดิม ๆ ไปเป็นการจัดการคลังสินค้าอัจฉริยะ ควบคู่กับกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด
ด้วยการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาด้านดิจิทัลที่ทันสมัย อุตสาหกรรมคลังสินค้าจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะเติบโตและเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาสในการเติบโต
ตลาดขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ของไทยกำลังเติบโตอย่างน่าจับตามอง ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซและความต้องการของผู้บริโภคที่คาดหวังระยะเวลาในการจัดส่งที่สั้นลง เพื่อรับมือกับการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ คลังสินค้าในเขตกรุงเทพฯ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์โลจิสติกส์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่และให้ความสำคัญกับโซลูชันคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หากองค์กรมีคลังสินค้าที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวง คลังสินค้าอาจเริ่มจากการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อให้การดำเนินงานคลังสินค้ามีความคล่องตัวขึ้น เช่น โซลูชันคลังสินค้าอัจฉริยะที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการโลจิสติกส์ และเชื่อมโยงระบบการจัดการและขนส่งสินค้าจากต้นทางไปสู่ปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ
การเติบโตดังกล่าวยังมีที่มาจากโครงการผลักดันเพิ่มเติมของรัฐบาลในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างถนน สนามบิน และระบบขนส่งสาธารณะใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์โดยตรงเนื่องจากช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อ คมนาคม และลดเวลาในการขนส่งลงได้
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การลงทุนของบริษัทและองค์กรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคาดการณ์กันว่าตลาดจะขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับตลาดคลังสินค้าทั่วโลกอาจจะมีมูลค่าจะสูงถึง 88.10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2567 และจะยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นนี้ต่อไป และจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นราว 119.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2572 โดยมีอัตราเติบโตแบบทบต้นโดยเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ที่ 6.24%1
ปี |
ขนาดตลาดที่คาดการณ์ |
CAGR (%) |
2567 |
88.10 |
- |
2572 |
119.26 |
6.24 |
ด้วยปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงสะท้อนให้เห็นถึงสถานะตลาดคลังสินค้าในกรุงเทพฯ ทั้งปัจจุบันและอนาคต องค์กรที่คาดการณ์และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่มากกว่า อีกทั้งการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดอีคอมเมิร์ซยังตอกย้ำถึงความจำเป็นที่ภาคโลจิสติกส์จะต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถตอบสนองคำสั่งซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ธุรกิจที่มีแนวคิดก้าวหน้า (Forward Thinking) มักตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาด ไม่ว่าจะเป็นการติดตามสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สำหรับการพยากรณ์ความต้องการ และระบบการขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ เป็นต้น
ตลาดคลังสินค้าในกรุงเทพฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อให้ทันกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของภูมิทัศน์อีคอมเมิร์ซ อุปทานใหม่มีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นรูปธรรมอยู่ที่ 191,888 ไร่ คาดว่าจะพร้อมสรรพภายในปี 2567 การพัฒนานี้ตอกย้ำถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วและการลงทุนอย่างต่อเนื่องในภาคส่วนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับธุรกิจและนักลงทุน
ในส่วนการติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด อัตราการว่างของอสังหาริทรัพย์จากการไม่มีผู้เช่า (Vacancy Rate) ถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 16.9% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นจาก 15.6% ของไตรมาสก่อนหน้า แม้อัตราดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น แต่ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงมีแนวโน้มเป็นบวก ซึ่งสะท้อนถึงตลาดคลังสินค้าที่กำลังเติบโต ซึ่งกำลังปรับตัวให้เข้ากับการไหลเข้าของพื้นที่ใหม่2
ในขณะเดียวกัน ค่าธรรมเนียมในการเช่าคลังสินค้า ก็เผยให้เห็นแนวโน้มค่าเช่าเฉลี่ยสำหรับเช่าโรงงานสำเร็จรูป (RBF) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 100-230 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แม้ว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้อาจก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับองค์กรบางแห่ง แต่ก็ยังบ่งบอกถึงตลาดที่กำลังเติบโต ซึ่งพื้นที่ที่มีคุณภาพเท่านั้นที่เป็นที่ต้องการของตลาด3
ภาพรวมของตลาดคลังสินค้าในกรุงเทพฯ ที่ชัดเจนนี้ก่อให้เกิดทั้งโอกาสและความท้าทาย กล่าวคือ การจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมนั้นสามารถรองรับความต้องการของผู้ค้าปลีกออนไลน์และผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นได้ แต่ในทางกลับกัน ความจำเป็นในการรักษาอัตราการว่างของอสังหาริทรัพย์จากการไม่มีผู้เช่าให้ต่ำจะมีส่วนช่วยผลักดันการขับเคลื่อนนวัตกรรมในการใช้ประโยชน์และการจัดการคลังสินค้า
ปัจจุบันบริษัทที่อยู่ในระดับแนวหน้าไม่เพียงต้องการพื้นที่เท่านั้น แต่ยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ผ่านการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
อัตรา |
ไตรมาส 2 ปี 2566 |
ไตรมาส 3 ปี 2566 |
อัตราการว่างของอสังหาริทรัพย์จากการไม่มีผู้เช่า (%) |
15.6 |
16.9 |
แนวโน้มค่าเช่าเฉลี่ยสำหรับเช่าโรงงานสำเร็จรูป (บาท) |
100-230 |
|
แนวทางเชิงรุกที่ธุรกิจต่าง ๆ ใช้เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงความสามารถในการปรับตัว ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือวิเคราะห์และการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ บริษัทและองค์กรเหล่านี้จึงก้าวนำหน้าคู่แข่งท่ามกลางการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ในขณะที่ตลาดคลังสินค้าในกรุงเทพฯ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่สามารถรับมือกับความซับซ้อนเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้ง่ายขึ้น
ภูมิทัศน์ของคลังสินค้าและโลจิสติกส์ในกรุงเทพฯ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ที่เป็นปัจจัยกำหนดการเติบโต คลังสินค้าของกรุงเทพฯ กำลังเปลี่ยนไปสู่บทบาทใหม่จากเดิมที่เป็นสถานที่จัดเก็บสินค้าเพียงอย่างเดียวไปสู่ศูนย์ปฏิบัติการที่มีความซับซ้อน โดยทุกวันนี้ คลังสินค้าและโลจิสติกส์ในกรุงเทพฯ ได้มีบทบาทสำคัญในชุมชนอัจฉริยะและโลจิสติกส์ในเขตเมือง โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในการจัดส่งแบบ Last-Mile Delivery ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากศูนย์กระจายการขนส่งสุดท้ายไปยังปลายทางที่กำหนด เพื่อส่งมอบให้กับผู้รับหรือลูกค้าปลายทางอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต
กุญแจสำคัญของวิวัฒนาการนี้คือการบูรณาการเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งช่วยให้คลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ดีขึ้น ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ถือเป็นเทคโนโลยีอันดับต้น ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วยการลดข้อผิดพลาดของมนุษย์และเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น นอกจากนี้ การถือกำเนิดของ Internet of Things (IoT) ยังช่วยให้คลังสินค้าสามารถติดตามสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงที่ราบรื่นระหว่างระบบการสั่งซื้อและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ภาคคลังสินค้าในกรุงเทพฯ ก็มีการเพิ่มขึ้นของ โลจิสติกส์ 'สีเขียว' (Green Logistics) เช่นกัน โดยในปัจจุบันแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกที่มีจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นความจำเป็นทางธุรกิจในตลาดสมัยใหม่อีกด้วย คลังสินค้าบางแห่งเริ่มมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบแสงสว่างประหยัดพลังงาน และวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดต้นทุนการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ 4,700 ไร่ถือเป็นข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของกรุงเทพฯ ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ ซึ่งไม่ได้มุ่งหวังเพียงแต่จะจัดหาคลังสินค้าที่ล้ำสมัยเท่านั้น แต่ยังรวมเอาสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ผนวกเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชยกรรมอีกด้วย ซึ่งแนวทางแบบองค์รวมนี้ให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายในการตอบสนองความต้องการด้านโลจิสติกส์ ในขณะเดียวกันก็ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ โครงการนี้ยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเมืองในการสร้างศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่รองรับอนาคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองนั่นเอง
นักลงทุนและบริษัทที่สนใจจะเข้ามาทำธุรกิจในตลาดคลังสินค้าในกรุงเทพฯ จะต้องตระหนักถึงแนวโน้มเหล่านี้และปรับตัวอย่างรวดเร็วด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงและโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและตอบสนองความต้องการของระบบนิเวศในเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้น
ตลาดคลังสินค้าในกรุงเทพฯ อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยได้รับอิทธิพลจากความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน การเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซได้กระตุ้นให้เกิดความต้องการโซลูชันโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง ผู้ค้าปลีกในปัจจุบันต่างก็มองหาคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดเวลาในการจัดส่งและรองรับการชอปปิงออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ภาคอิเล็กทรอนิกส์และภาคยานยนต์ก็แสดงให้เห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจในวงกว้างและความต้องการของผู้บริโภค
ในทางตรงกันข้าม เราอาจเห็นความซบเซาของภาคส่วนต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า เคมีภัณฑ์ และวัสดุก่อสร้าง แนวโน้มขาลงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาคส่วนดิจิทัลและภาคส่วนที่เน้นการบริการมากขึ้น นักลงทุนและผู้ประกอบการคลังสินค้าจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวโน้มเหล่านี้เพื่อปรับขีดความสามารถและบริการของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน
การทะลักเข้ามาของการลงทุนในภาคคลังสินค้าในกรุงเทพฯ ล้วนมาจากต่างประเทศ นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ไทย และจีน กำลังแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในศักยภาพของภูมิภาค การลงทุนของกลุ่มนักลงทุนเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องทางการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยี ซึ่งแสดงให้เห็นโซลูชันคลังสินค้าขั้นสูงมากมายที่กำลังปฏิวัติอุตสาหกรรม
ตารางต่อไปนี้สรุปแนวโน้มอุปสงค์รายภาคของตลาดคลังสินค้าในกรุงเทพฯ
ภาคส่วน |
แนวโน้มความต้องการ |
อีคอมเมิร์ซ |
เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด |
ขายปลีก |
เพิ่มขึ้นอย่างมาก |
อิเล็กทรอนิกส์ |
ฟื้นตัว |
ยานยนต์ |
เพิ่มขึ้นอย่างสังเกตได้ |
เครื่องแต่งกาย |
ลดลง |
เคมีภัณฑ์ |
ลดลง |
วัสดุก่อสร้าง |
ลดลง |
จากแนวโน้มเหล่านี้ ธุรกิจต่าง ๆ ควรประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานของตน สำหรับบริษัทและองค์กรหลาย ๆ แห่ง สิ่งนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่โซลูชันคลังสินค้าที่ชาญฉลาดและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องของภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากบทบาทของคลังสินค้ากำลังเปลี่ยนจากพื้นที่จัดเก็บแบบคงที่ไปสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่มีความลื่นไหล ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานในเขตกรุงเทพฯ นี้
การปรับตัวให้เข้ากับตลาดคลังสินค้าที่กำลังเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจที่มุ่งหวังที่จะรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ให้ตลอดรอดฝั่งในปี 2567 นี้ ด้วยอีคอมเมิร์ซที่ขับเคลื่อนความต้องการด้านโลจิสติกส์เชิงนวัตกรรม บริษัทต่าง ๆ จึงควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีขั้นสูงและกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสเศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงความซบเซาในภาคส่วนดั้งเดิม และกระตุ้นให้มีการประเมินความต้องการด้านคลังสินค้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการลงทุนระหว่างประเทศหลั่งไหลเข้ามา ธุรกิจก็จะสามารถนำเสนอโซลูชันล้ำสมัยที่มีศักยภาพรองรับความต้องการและเติบโตในภูมิทัศน์ที่กำลังพัฒนานี้ กล่าวง่าย ๆ คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องปรับการดำเนินงานของตนให้สอดคล้องกับคลื่นลูกใหม่ของคลังสินค้าอัจฉริยะ เพื่อให้มั่นใจว่าคลังสินค้าของคุณจะพร้อมเผชิญกับความท้าทายและโอกาสของตลาดในอนาคต
Source:
1. Thailand Freight and Logistics Market Insights [Internet]. [cited 2024 Jan 9]. Available from: https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/thailand-freight-and-logistics-market#:~:text=The%20Thailand%20Freight%20and%20Logistics,26%20billion%20by%202029
2. THAILAND MARKETBEAT REPORTS [Internet]. [cited 2024 Jan 9]. Available from: https://www.cushmanwakefield.com/en/thailand/insights/thailand-marketbeat
3. Industry Outlook 2023-2025 Warehouse [Internet]. [cited 2024 Jan 9]. Available from: https://www.krungsri.com/en/research/industry/industry-outlook/logistics/warehouse-space/io/io-warehouse-2023-2025#:~:text=For%20rental%20rates%2C%20the%20total,2021%20(source%3A%20WHART)
Shared
View more in blog
การเช่าโรงงานและโกดังในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
การเช่าโรงงานและคลังสินค้าได้กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ต้องการใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทย ความเคลื่อนไหวในตลาดการเช่าถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการจากทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการตั้งฐานการดำเนินงานในภูมิภาค บทความนี้จะพิจารณาภาพรวมของการเช่าโรงงานและคลังสินค้าในประเทศไทยอย่างละเอียด โดยเน้นถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจ สถิติการเช่า และการคาดการณ์ตลาดที่มีผลกระทบต่อภาคส่วนนี้
FTREIT สานต่อความมุ่งมั่นด้าน ESG: ยกระดับอาคารเดิมเพื่อเสริมประสิทธิภาพพลังงาน พร้อมก้าวสู่มาตรฐานความยั่งยืนระดับโลก
B2.9/2 PLOT P25 PIN1
ข้อควรพิจารณาสำหรับการเช่าคลังสินค้าในระยะสั้นเทียบกับระยะยาว
การเลือกเช่าคลังสินค้าระหว่างระยะสั้นและระยะยาวอาจเป็นการตัดสินใจที่ท้าทาย โดยทั่วไปแล้วการเช่าคลังสินค้าระยะสั้นจะมีระยะเวลาตั้งแต่ไม่กี่เดือนไปจนถึงสามปีซึ่งมอบความยืดหยุ่นสำหรับธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงหรือการทดสอบตลาดใหม่ ๆ ในทางกลับกัน การเช่าโกดังระยะยาวจะเกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าที่มีระยะเวลาสามถึงสิบปีหรือมากกว่านั้น จะให้ความมั่นคงและค่าใช้จ่ายที่สามารถคาดการณ์ได้สำหรับบริษัทที่มีความต้องการในการจัดเก็บสินค้าที่สม่ำเสมอ
Cross-docking คืออะไร? พร้อมกลยุทธ์และประโยชน์ในการนำไปใช้
มาดูข้อดีของการกระจายสินค้าแบบครอส-ด็อกกิ้ง (Cross-Docking) สำหรับการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ พร้อมวิธีลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้า เพิ่มความเร็วในการจัดส่ง และการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบและก่อสร้างตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานสีเขียวและสิ่งแวดล้อม
อัปเดตความเปลี่ยนแปลงที่คลังสินค้าต้องรู้!!! พร้อมเทคนิคปรับตัวให้รองรับความต้องการของตลาดยุคใหม่
สถานการณ์ตลาดคลังสินค้าในเขตกรุงเทพฯ กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อันเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง การเป็นผู้นำตลาดจึงหมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
‘โลจิสติกส์และการเชื่อมต่อ’ ข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของนิคมอุตสาหกรรมในชลบุรี
นิคมอุตสาหกรรมชลบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่กลยุทธ์บริเวณใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบโลจิสติกส์และการเชื่อมต่อที่สะดวกสบาย จึงดึงดูดธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ตลาดที่เติบโตอย่างไม่หยุดนิ่ง ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ล้ำสมัย ศูนย์กลางเหล่านี้กำลังขับเคลื่อนให้เกิดเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการค้าในพื้นที่ชลบุรี
แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน จำเป็นแค่ไหนสำหรับคลังสินค้าสมัยใหม่?
ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนได้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ‘ความยั่งยืน’ จึงไม่ได้เป็นเพียงคำศัพท์ยอดนิยมอีกต่อไป แต่กลายเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมอีกด้วย คลังสินค้าสมัยใหม่ถือเป็นภาคส่วนแรก ๆ ที่ได้นำแนวทางปฏิบัติ ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนี้มาใช้ พร้อม ๆ กับการเพิ่มประสิทธิภาพ และพิสูจน์ให้เห็นว่าการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นมากกว่าการช่วยโลก แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนได้เช่นกัน
ผู้ประกอบการต้องรู้! ขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในไทย ขออย่างไร? ที่ไหน?
หลังจากได้มีการออกประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ. โรงงานฉบับใหม่ ไปเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงื่อนไขเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงกฎหมายครั้งนี้ คือ เพื่อลดภาระของผู้ประกอบกิจการโรงงาน เพิ่มความคล่องตัว ทำให้เกิดความต่อเนื่องในภาคการผลิต ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ได้ศึกษาข้อกฎหมายฉบับใหม่นี้ ดังนั้น เราจะพาทุกท่านไปอัปเดตรายละเอียดของ พ.ร.บ. โรงงานฉบับใหม่ ในแง่ของการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานว่าเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง
เปลี่ยนคลังสินค้าธรรมดา ให้กลายเป็น ‘คลังสินค้าอัจฉริยะ’ ด้วยอุปกรณ์ IoT
หากเปรียบเทียบโลกเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับโลกในวันนี้ เราคงเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในหลาย ๆ ด้าน แล้วเคยสงสัยไหมว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คืออะไร? คำตอบก็คือ “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” (Internet of Things) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘เทคโนโลยี IoT’ ที่ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา โดยเทคโนโลยี IoT จะทำหน้าที่เชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่เราไม่ต้องป้อนข้อมูลใด ๆ ปัจจุบัน IoT เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับธุรกิจ โรงงาน รวมถึงคลังสินค้า อย่างเช่น Smart Factory ที่ได้นำ IoT มาใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงกัน ซึ่งรูปแบบการประยุกต์ใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของผู้พัฒนาที่มุ่งเป้าในการมอบความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งยังแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยี IoT ยังช่วยลดความผิดพลาดของการจัดการสินค้าคงคลังได้ถึง 30% ซึ่งแน่นอนว่าย่อมช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญ
เช่าคลังสินค้า ชลบุรี
ในแง่ของการทำธุรกิจและการลงทุน จังหวัดชลบุรีมีพื้นที่ที่กว้างขวาง ทำเลที่ตั้งดีเยี่ยม และสิทธิพิเศษจากโครงการ EEC จึงเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การลดหย่อนภาษี ค่าเช่าที่ถูกกว่า และการเข้าถึงสาธารณูปโภค นอกจากนี้ยังเข้าถึงระบบขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้ง่าย ทั้งมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 สนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง มีรถไฟหลายสายที่เชื่อมระหว่างเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ (ผ่านสงขลา) กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช ระนอง ปัตตานี อยุธยา ฯลฯ ทำให้การเช่าโกดัง ชลบุรีมีความสะดวกอย่างมาก
5 กฎเหล็กการเลือกทำเลสำหรับเช่าโรงงาน
ในการเลือกเช่าโรงงานให้เช่ามีปัจจัยที่ควรจะนำมาพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานให้เช่าที่เหมาะสมกับธุรกิจ เพราะหากผู้ประกอบการไม่เจาะจงเลือกทำเลที่ดีแล้ว อาจส่งผลให้ การเดินทางคมนาคมหรือการขนส่งสินค้าไม่สะดวกสบาย ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจในอนาคตได้
ข้อดีในการเช่าโรงงาน ชลบุรี ที่ดีต่อธุรกิจของคุณ
แม้กรุงเทพมหานครจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่หากจะกล่าวถึงศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของไทยคงหนีไม่พ้นจังหวัดชลบุรีอย่างแน่นอน ซึ่งจังหวัดชลบุรีนี้เองที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมากถึง 15 แห่ง เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์พลาสติก และอื่น ๆ อีกมากมาย การเลือกเช่าโรงงาน ชลบุรี จึงดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ที่กว้างขวาง สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ค่าครองชีพต่ำ และทำเลที่ตั้งดีเยี่ยม อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ซึ่งมอบข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้กับการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์นั่นเอง
คลังสินค้าและการบริหารคลังสินค้า
กิจการค้าขายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับชุมชน ประเทศ ไปจนถึงระดับโลกโดยมี ‘คลังสินค้า’ (Warehouse) ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนและสร้างความสมดุลในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หรือกระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการในแง่ของแหล่งที่ใช้เก็บทั้งวัตถุดิบสำหรับใช้ใน การผลิต (Raw Material) สินค้าสำเร็จรูป หรือสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วรอส่งลูกค้า (Finished Goods) ดังนั้น การมีคลังสินค้าจึงช่วยลดปัญหาวัตถุดิบไม่พอผลิต ทำให้การผลิตดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถจัดส่งสินค้าได้ทันเวลา ยิ่งหากมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดียิ่งจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ ก่อให้เกิดสภาพคล่องและผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) ในเวลาอันรวดเร็วคลังสินค้าและการบริหารคลังสินค้าจึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้การประกอบธุรกิจค้าขายบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้
8 เคล็ด (ไม่) ลับ เลือกคลังสินค้าอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจ
หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาคลังสินค้าแห่งใหม่ หรือต้องการขยายคลังสินค้าเพิ่มเติม สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องรู้ถึงความต้องการของธุรกิจของคุณเพื่อให้คุณทราบได้ทันทีว่าคลังสินค้าใดเหมาะสมสำหรับธุรกิจ หรือคลังสินค้าใดไม่เหมาะสำหรับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บสินค้า การกระจายสินค้า ไปจนถึงการจัดจำหน่ายโดยการนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มาร่วมพิจารณาเพื่อให้สามารถเลือกโรงงานและโกดังคลังสินค้าที่มีทำเลเหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด
คลังสินค้าแบบ Built-to-Suit คืออะไร? ทำไมคลังสินค้า Built-to-Suit ถึงเหมาะกับธุรกิจของท่าน
การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ได้ก่อให้เกิดความต้องการในการใช้งานคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซหลาย ๆ รายมียอดขายเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เพราะผู้บริโภคจำนวนมากหันมาซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันไปจนถึงยารักษาโรค ผู้ประกอบการธุรกิจทั้งผู้ค้าและผู้ให้บริการโลจิสติกส์จึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่คลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในบางครั้ง การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้มักตามมาด้วยงบประมาณลงทุนก้อนโต จนอาจทำให้โอกาสในการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการบางรายถูกจำกัดไปโดยปริยาย แต่ในปัจจุบัน การลงทุนในเรื่องดังกล่าวนั้นมีทางเลือกมากขึ้น หากผู้ประกอบการเปลี่ยนมุมมองจากการเป็น “เจ้าของทั้งหมด” มาเป็น “เจ้าของร่วม” ก็จะทำให้ท่านสามารถลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพดีได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว เช่นเดียวกับการลงทุนในคลังสินค้าแบบ Built-to-Suit
คลังสินค้าห้องเย็นคืออะไร? พร้อมสิ่งที่ควรรู้ก่อนเช่าคลังสินค้าห้องเย็น
คลังสินค้าห้องเย็น หรือ คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Storage Warehouse) คือ พื้นที่จัดเก็บสินค้าที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นให้เป็นไปตามที่กำหนด โดยไม่ปล่อยให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศภายนอกตลอด 24 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าบางประเภท ซึ่งต้องเก็บในอุณภูมิต่ำเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า ทั้งนี้ คลังสินค้าห้องเย็นจะมีระดับความเย็นตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ไปจนถึงอุณหภูมิติดลบ ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าที่จัดเก็บ
AI และระบบอัตโนมัติส่งผลกระทบต่อการจัดการคลังสินค้าในประเทศไทยอย่างไร?
จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หรือคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่าง ๆ อาทิเช่น การรับรู้ เรียนรู้ ให้เหตุผล คิด วิเคราะห์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจในรูปแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รวมถึงในวงการการบริหารจัดการคลังสินค้าในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว เหตุผลเนื่องมาจากธุรกิจ E-Commerce ที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงในปัจจุบัน
สร้างโรงงาน VS เช่าโรงงาน แบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ?
สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจหรือต้องการขยายธุรกิจที่ต้องใช้โรงงานจะเห็นได้ว่าโรงงานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการประกอบการอย่างมาก ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ตามมาที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านยังลังเลใจจนหาคำตอบไม่ได้ก็คือจะลงทุนสร้างโรงงานเองหรือเลือกเช่าโรงงานดีกว่า? เนื่องจากทั้ง 2 รูปแบบนี้ก็มีความแตกต่าง พร้อมทั้งมีปัจจัยหลาย ๆ ด้านต้องพิจารณาให้เหมาะสมมากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการการตัดสินใจระหว่างสร้างโรงงานและเช่าโรงงาน จะเลือกแบบไหนที่ตอบโจทย์กับธุรกิจมากที่สุด วันนี้เรามีคำตอบ
ทำไมอัตราการเช่าคลังสินค้าในเอเชียจึงเพิ่มขึ้นสวนทางกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
นับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทั่วโลกในช่วงปลายปี 2562 อุตสาหกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 43.5% คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.87 ล้านล้านเหรียญทั่วโลก และกระแสหมุนเวียนเกือบครึ่งหนึ่งมาจากภูมิภาคเอเชีย และในปี 2565 นี้จะเห็นได้ว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมดังกล่าวยังเติบโตขึ้นอีก แต่ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?
ประโยชน์ของการเช่าโรงงาน เช่าคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการอาจนึกไม่ถึง
เมื่อเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือขยายธุรกิจ หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือการมองหาโรงงานหรือคลังสินค้าที่เหมาะสมที่สามารถรองรับภาระหน้าที่งานได้อย่างครบถ้วน ดังนั้น คำถามหนึ่งที่นักธุรกิจต้องหรือผู้ประกอบการต้องเผชิญ คือ ควรเช่าโรงงาน เช่าโกดังสินค้า หรือดำเนินการสร้างโกดังเองดี? ในบทความนี้ เราจะมาดูข้อดีต่าง ๆ ของการเช่าโรงงาน เช่าคลังสินค้าเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ และทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าแนวทางปฏิบัติใดจะดีสำหรับคุณและธุรกิจของคุณมากที่สุด
GMP คืออะไร
ก่อนเริ่มกิจการโรงงานใด ๆ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎ ระเบียบ และมาตรฐานหลายประการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์และส่งออกผลผลิตและผลิตภัณฑ์คุณภาพไปยังมือผู้บริโภค โดยเฉพาะมาตรฐาน GMP ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มไปจนถึงเครื่องสำอาง อาหารเสริม และยาโดยตรง การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GMP เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง เนื่องจาก GMP เป็นหนึ่งในเครื่องการันตีว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในโรงงานนั้น ๆ จะมีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสำหรับการจำหน่ายไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับมาตรฐาน GMP เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกท่านได้เข้าใจภาพรวมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจการของท่านต่อไป
ความท้าทายของห่วงโซ่อุปทานและเคล็ดลับการผลักดันการพัฒนาธุรกิจคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องออกมาตรการปิดประเทศ ทำให้การส่งออกสินค้าที่ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย วิกฤตการณ์ดังกล่าวยังถือเป็นบททดสอบสำคัญของธุรกิจห่วงโซ่อุปทานที่ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ แล้วผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจห่วงโซ่อุปทานจะสามารถอยู่รอดอย่างไรในภาวะวิกฤต? บทความนี้จะมาเผยเคล็ดลับการผลักดันการพัฒนาธุรกิจคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้
ข้อควรรู้ก่อนเช่าโรงงานให้เช่า
การเช่าโรงงานถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการและนักธุรกิจรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เนื่องจากการเช่าโรงงานนั้นสามารถตอบโจทย์ในเรื่องของความสะดวก ความประหยัด และความคล่องตัว ทำให้ผู้ประกอบการเลือกเช่าโรงงานเพื่อทำธุรกิจกันมากขึ้น โดยข้อควรรู้ก่อนเช่าโรงงานให้เช่ามีดังนี้
คลังสินค้าคืออะไร? ทำความรู้จักกับคลังสินค้าให้มากขึ้นก่อนเช่าคลังสินค้า
คลังสินค้า (Warehouse) คือ สถานที่ที่ใช้สำหรับการวาง เก็บ หรือพักสินค้าเพื่อรอการกระจายหรือการขนส่ง ในบางครั้งอาจมีการใช้คำเรียกอื่น ๆ เช่น โกดัง โรงเก็บสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วมักถูกใช้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ค้าส่ง รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งหรือโลจิสติกส์ ซึ่งคลังสินค้านี้มักจะมีการออกแบบเฉพาะ
สร้างแนวปฏิบัติในการจัดเก็บสินค้าอันตรายอย่างไร ให้เกิดความปลอดภัยภายในคลังสินค้าอย่างสูงสุด
การทำงานในคลังสินค้า โดยเฉพาะคลังสินค้าที่มีการจัดเก็บสินค้าอันตรายนั้น นอกจากเจ้าของธุรกิจและผู้จัดการคลังสินค้าจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อสินค้าตามแนวปฏิบัติในการจัดเก็บสินค้าอันตรายแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยภายในคลังสินค้าเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานของตน เนื่องจากคลังสินค้าอันตรายส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยเครื่องจักรกลหนัก ระบบไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน สารเคมีต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดและความสูญเสียได้