THAI
ENG

ข้อแตกต่างระหว่าง Data Center และ Data Warehouse

11 พฤศจิกายน 2024

ในปัจจุบันข้อมูลเปรียบเสมือนหัวใจของการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งใช้ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ เนื่องด้วยการปฏิวัติ AI ที่กำลังดำเนินอยู่ ส่งผลให้พลังแห่งการประมวลผลมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เช่น ประเทศไทย ณ ขณะนี้ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ปัจจุบันมีการลงทุนใน Data Center รวมทั้ง Cloud Computing เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด Google ที่ได้ลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ใน Data Center ใหม่ในประเทศไทย พร้อมกับ Amazon Web Services (AWS) ที่ประกาศว่าจะมีการเพิ่มการลงทุนในศูนย์ข้อมูลในประเทศไทยเป็นจำนวน 200 พันล้านบาทภายในปี 2580 และในปี 2562 Frasers Property ได้ลงทุน 7.3 พันล้านบาทใน Data Center ขนาดใหญ่กับ STT ซึ่งทั้งหมดนี้ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้จัดการข้อมูล แต่ในขณะที่ Data Center และ Data Warehouse มักถูกจำสลับไปมา อย่างไรก็ตาม ทั้งคู่ล้วนแสดงถึงองค์ประกอบที่แตกต่างของโครงสร้างของข้อมูลเช่นเดียวกัน

 

บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงความแตกต่างระหว่าง Data Center และ Data Warehouse เพื่อสำรวจบทบาทเฉพาะของทั้งคู่ในระบบนิเวศทางเทคโนโลยี ณ ปัจจุบัน

 

Data Center คืออะไร?

Data Center คือ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นตัวช่วยเพื่อใช้อำนวยความสะดวกทางกายภาพ โดยที่องค์กรจะเก็บรวบรวม จัดการ และประมวลผลข้อมูล รวมถึงแอปพลิเคชันที่สำคัญของตน ซึ่งศูนย์ข้อมูลจะเป็นที่ตั้งของเครือข่ายทรัพยากรคอมพิวติ้งที่ครอบคลุม เช่น เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และฮาร์ดแวร์สำหรับเครือข่าย เพื่อให้แน่ใจว่าบริการ IT ของธุรกิจจะดำเนินงานได้อย่างราบรื่น

 

ส่วนประกอบของ Data Center

  • เซิร์ฟเวอร์ (Servers): หน่วยประมวลผลหลักที่ประมวลผลข้อมูลและเรียกใช้แอปพลิเคชัน
  • ระบบจัดเก็บข้อมูล (Storage Systems): อุปกรณ์ที่จัดเก็บทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
  • โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย  (Networking Infrastructure): สวิตช์ เราท์เตอร์ และส่วนประกอบเครือข่ายอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้อมูล
  • ระบบพลังงานและระบายความร้อน (Power and Cooling Systems): ป้องกันความร้อนที่สูงเกินไป เพื่อให้มั่นใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • ระบบรักษาความปลอดภัย (Security Systems): ความปลอดภัยทางกายภาพ (ไบโอเมตริกส์ การเฝ้าระวังข้อมูล) และความปลอดภัยเครือข่าย (ไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสข้อมูล)

 

หน้าที่และจุดประสงค์

Data centers ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ซึ่ง Data center จะมีหน้าที่ในการจัดการ ดังนี้

  • การประมวลผลข้อมูล สำหรับบริการออนไลน์ แอปพลิเคชัน LLMs และเว็บไซต์
  • การจัดเก็บข้อมูล สำหรับรักษาข้อมูลให้สามารถเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย
  • High availability ของบริการ ผ่านกลไกสำรองข้อมูลและการสลับระบบสำรอง

 

ประเภทของ Data Centers

  • On-Premise Data Centers: ศูนย์ข้อมูลที่ติดตั้งอยู่ภายในอาคารขององค์กรเอง
  • Colocation Data Centers: ศูนย์ข้อมูลที่เช่าในพื้นที่ของบุคคลที่สาม
  • Cloud Data Centers: ศูนย์ข้อมูลที่ให้บริการโดยผู้ให้บริการคลาวด์ เช่น AWS, Azure, and Google Cloud
  • Edge Data Centers: ศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูล ที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดความหน่วง

 

ความปลอดภัยของ Data Centers

Data centers จะเน้นความปลอดภัยทั้งในด้านกายภาพและความปลอดภัยของเครือข่าย โดยด้านความปลอดภัยทางกายภาพจะมีการล็อกประตู ใช้การเข้าถึงด้วยลายมือ (Biometrics) และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แต่ในส่วนของความปลอดภัยทางเครือข่ายจะใช้ไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสข้อมูล และระบบตรวจจับการบุกรุกเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

 

การใช้พลังงานและความยั่งยืน

Data centers มีการใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งนำไปสู่การผลักดันในวงกว้างของอุตสาหกรรมเพื่อสร้าง Green Data Centers หรือศูนย์ข้อมูลสีเขียว ที่จะใช้แนวปฏิบัติการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า รวมทั้งการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และปรับปรุงระบบระบายความร้อนให้มีความเหมาะสม

 

Data Warehouse คืออะไร?

Data Warehouse หรือ คลังข้อมูล คือ ระบบที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการรายงานผล ซึ่งจะจัดเก็บและจัดระเบียบข้อมูลที่มีโครงสร้างจำนวนมากที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกับคำสั่งที่ซับซ้อนและได้ข้อมูลในเชิงลึก

 

ส่วนประกอบของ Data Warehouse

  • ระบบฐานข้อมูล (Database Systems): ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับการค้นหาข้อมูลและการรายงานผล
  • ETL (Extract, Transform, Load): กระบวนการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นรูปแบบที่ใช้งานได้ และโหลดข้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูล
  • เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล: ซอฟต์แวร์สำหรับเรียกใช้คำสั่งค้นหาข้อมูล การสร้างรายงาน และการแสดงแนวโน้มของข้อมูลในรูปแบบภาพ

 

หน้าที่และจุดประสงค์

หน้าที่ของ Data Warehouse นั้นต่างจาก Data Center ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประกอบการตัดสินใจโดยการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง และปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับการเรียกใช้คำสั่งค้นหาข้อมูลบนชุดข้อมูลขนาดใหญ่ โดยจะรวบรวมข้อมูลจากหลายระบบเข้าด้วยกันไว้ในคลังเก็บข้อมูลที่เดียว และสร้างธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence)

 

องค์ประกอบของ Data Warehousing

  • แหล่งข้อมูล (Data Sources): ฐานข้อมูลจำนวนมาก รวมทั้ง Flat Files และที่เก็บข้อมุลอื่นๆ
  • เครื่องมือ ETL: ระบบที่ปลอดภัยและใช้ในการรวบรวมข้อมูล
  • พื้นที่เก็บข้อมูล (Data Storage): ฐานข้อมูลที่ถูกปรับแต่งหรือ Cloud Solutions ที่ออกแบบให้เหมาะสม เพื่อใช้ในการเรียกค้นข้อมูลอย่างรวดเร็ว
  • เครื่องมือเข้าถึงข้อมูล (Data Access Tools): แอปพลิเคชันที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลและสร้างข้อมูลเชิงลึกได้

 

ความแตกต่างจากฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม

ฐานข้อมูลแบบเดิมถูกออกแบบมาเพื่อจัดการข้อมูลธุรกรรม (เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูล) ในขณะที่ Data Warehouse ถูกออกแบบมารองรับการอ่านข้อมูลจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้คลังข้อมูลสามารถดำเนินการค้นหาข้อมูลที่ซับซ้อนบนข้อมูลย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ความแตกต่างหลักระหว่าง Data Centers และ Data Warehouse

Data Center

Data Warehouse

มุ่งเน้นไปที่กระบวนการปฏิบัติงาน เช่น การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และบริการเครือข่าย

มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างรายงาน และนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ

เก็บรวบรวมข้อมูลทุกประเภท (ทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง) ที่องค์กรปประมวลผลทุกวัน

เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีโครงสร้างที่ปลอดภัย และถูกแปลงรูปแบบแล้ว เพื่อการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูล

สร้างขึ้นจากส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์ เครือข่าย และอาร์เรย์จัดเก็บข้อมูล

สร้างขึ้นบนฐานข้อมูลที่มีกระบวนการ ETL และเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลแบบบูรณาการ

ออกแบบมาเพื่อรองรับการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูง และจัดการบริการได้หลายประเภทพร้อมกัน

ปรับให้เหมาะสมสำหรับการเรียกใช้คำสั่งค้นหาข้อมูลที่ซับซ้อนบนข้อมูลย้อนหลัง  พร้อมความสามารถในการขยายขอบเขต ทั้งในด้านการจัดเก็บข้อมูลและกำลังประมวลผล

เน้นความปลอดภัยทางกายภาพ ความปลอดภัยของเครือข่าย และการสำรองข้อมูล

เน้นความสมบูรณ์ของข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง และการเข้ารหัส เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความปลอดภัย

ผู้เข้าถึงและจัดการหลัก คือ วิศวกรด้านไอทีและเครือข่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

ผู้ใช้งานหลัก คือ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และผู้มีสิทธิ์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อสร้างข้อมูลและผลรายงานเชิงลึก

 

การทำงานร่วมกันระหว่าง Data Center และ Data Warehouse

การทำงานของ Data Center และ Data Warehouse ถึงแม้จะมีบทบาทที่แตกต่างกัน แต่ทั้งคู่มักจะทำงานร่วมกัน โดย Data Center จะให้โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ Data Warehouse เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล และในสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ Data Warehouse จะถูกโฮสต์ภายใน Cloud Data Center ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถขยายขอบเขตการดำเนินการวิเคราะห์ได้ โดยไม่ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ

 

กรณีการใช้งานตัวอย่าง

กรณีการใช้งาน Data Center

สถาบันทางการเงินแห่งหนึ่งมีการใช้ Data Center เพื่อโฮสต์ระบบธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจในการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ การทำธุรกรรมที่ปลอดภัย ลูกค้าสามารถเข้าถึงและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดย Data Center จะคอยจัดการข้อมูลลูกค้า ข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการพูดคุยสื่อสารเช่นเดียวกัน

 

กรณีการใช้งาน Data Warehouse

สถาบันทางการเงินแห่งเดียวกันอาจใช้ Data Warehouse เพื่อวิเคราะห์ประวัติการทำธุรกรรมในการตรวจจับรูปแบบการฉ้อโกง และสร้างรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้า อีกทั้งยังเก็บข้อมูลธุรกรรมที่มีโครงสร้างเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

 

ตัวอย่างการใช้งานเฉพาะด้าน

  • การบริการสุขภาพ: โรงพยาบาลจะใช้ Data Centers เพื่อเก็บรักษาประวัติผู้ป่วยและใช้งานระบบปฏิบัติการ และใช้ Data Warehouses ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของผู้ป่วยและในประสิทธิผลการรักษา
  • ธุรกิจค้าปลีก: บริษัทอีคอมเมิร์ซจะใช้ Data Centers เพื่อจัดการการเข้าชมเว็บไซต์และธุรกรรมต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ใช้ Data Warehouses เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการซื้อของลูกค้า

 

พลิกโกดังสินค้าให้กลายเป็น Data Centers

เนื่องด้วยความต้องการใน Data Centers เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยฌพาะอย่างยิ่งในการเติบโตของ Large Large Language Models (LLMs) อีคอมเมิร์ซ และการดำเนินการทางดิจิทัล จะเพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนคลังสินค้าโล่งๆ ให้กลายเป็น Data Center ที่มีประสิทธิภาพ โดยแนวโน้มนี้เกิดจากความต้องการของธุรกิจในการเสริมสร้างการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ และการจัดการข้อมูลจำนวนมากอย่างปลอดภัย องค์กรหลายแห่งเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของ Large Language Models (LLMs) และความสามารถในการฝึกสอนด้วยข้อมูลที่ปลอดภัย ซึ่งต้องอาศัยการดำเนินงานที่ได้รับการปรับปรุง ทำให้มีความต้องการโครงสร้างของข้อมูลที่แข็งแกร่งมากขึ้น

 

ซื้ออาคารหลังเก่ามาปรับปรุงให้เป็น Data Centers

นักลงทุนจำนวนมากหันมาสนใจอาคารสำนักงานเก่าและโกดังร้าง อันตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการปรับเปลี่ยนเป็น Data Center ซึ่งแนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นถึงทางเลือกที่รวดเร็วและคุ้มค่ากว่าการก่อสร้างขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น ในฮ่องกง ที่ผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ด้านโลจิสติกส์ได้ซื้อโรงเก็บของเย็น และกำลังปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ข้อมูลขนาด 40 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกัน ในพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน อาคารสำนักงานอายุ 54 ปี ของธนาคารยูเนียนก็กำลังถูกปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ข้อมูลเช่นเดียวกัน

 

การก่อสร้าง Data Center ขึ้นมาใหม่อาจใช้ระยะเวลานานถึง 26 เดือน โดยยังไม่รวมขั้นตอนการขออนุญาตอื่นๆ แต่ในทางตรงกันข้าม การปรับปรุงอาคารส่วนใหญ่มักใช้ระยะเวลาเพียงประมาณ 1 ปีเท่านั้น ด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วนี้ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่น่าดึงดูดในการประกอบธุรกิจ

 

การปรับปรุงอาคารเก่าไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดเวลาเท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง เพราะแทนที่จะเริ่มต้นจากศูนย์ นักลงทุนสามารถจัดสรรเงินทุนเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่มีอยู่ ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นท่ามกลางราคาต้นทุนของวัสดุที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงอาคารเก่ายังคงมีอุปสรรคในขณะนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประชาการหนาแน่น เช่น กรุงเทพฯ การปรับเลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้ตรงมาตรฐานของ Data Center อาจมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง  

 

แนวโน้มการปรับปรุงคลังสินค้าและอาคารเก่าให้เป็น Data Center จะเห็นว่าโดยรวมแล้ว มีความสอดคล้องกับความต้องการระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในขณะนี้

 

สรุป

แม้ว่า Data centers และ Data warehouses ทั้งสองอย่างนี้ต่างมีหน้าที่ในการจัดการข้อมูลเช่นเดียวกัน แต่วัตุประสงค์ในการใช้งานนั้นมีความแตกต่างกัน ในขณะที่ Data centers เป็นฮับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพหรือคลาวด์ที่สนับสนุนการดำเนินงานประจำวัน การประมวลผล และการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในทางกลับกัน Data Warehouses เป็นระบบเฉพาะทางที่ออกแบบมาเพื่อจัดเก็บ เรียบเรียง และวิเคราะห์ข้อมูลที่มีโครงสร้างเพื่อธุรกิจอัจฉริยะและช่วยในการตัดสินใจ

ในปัจจุบันทั้งสองอย่างนี้มีความสำคัญอย่างมากในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการทำความเข้าใจความแตกต่างจะช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

แหล่งที่มา

https://www.nationthailand.com/business/investment/40039293

https://theceoviews.com/difference-between-data-center-and-data-warehouse/

https://world.thaipbs.or.th/detail/thailand-welcomes-googles-us1-billion-investment-in-data-center-and-cloud-region/54926

https://www.linkedin.com/pulse/cre-opportunities-turning-warehouses-data-centers-bill/

https://www.jll.co.th/en/trends-and-insights/investor/data-centers-are-finding-new-homes-in-old-buildings

https://www.sttelemediagdc.com/th-en/newsroom/frasers-property-thailand-joins-hands-stt-gdc#:~:text=Link%20copied!&text=The%20new%20development%20will%20be,ready%20for%20service%20in%202021

Related Topics
All

Shared

View more in blog

11.11.2024

ข้อแตกต่างระหว่าง Data Center และ Data Warehouse

บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงความแตกต่างระหว่าง Data Center และ Data Warehouse เพื่อสำรวจบทบาทเฉพาะของทั้งคู่ในระบบนิเวศทางเทคโนโลยี ณ ปัจจุบัน

27.09.2024

การเช่าโรงงานและโกดังในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

การเช่าโรงงานและคลังสินค้าได้กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ต้องการใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทย ความเคลื่อนไหวในตลาดการเช่าถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการจากทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการตั้งฐานการดำเนินงานในภูมิภาค บทความนี้จะพิจารณาภาพรวมของการเช่าโรงงานและคลังสินค้าในประเทศไทยอย่างละเอียด โดยเน้นถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจ สถิติการเช่า และการคาดการณ์ตลาดที่มีผลกระทบต่อภาคส่วนนี้

26.09.2024

FTREIT สานต่อความมุ่งมั่นด้าน ESG: ยกระดับอาคารเดิมเพื่อเสริมประสิทธิภาพพลังงาน พร้อมก้าวสู่มาตรฐานความยั่งยืนระดับโลก

B2.9/2 PLOT P25 PIN1

28.08.2024

ข้อควรพิจารณาสำหรับการเช่าคลังสินค้าในระยะสั้นเทียบกับระยะยาว

การเลือกเช่าคลังสินค้าระหว่างระยะสั้นและระยะยาวอาจเป็นการตัดสินใจที่ท้าทาย โดยทั่วไปแล้วการเช่าคลังสินค้าระยะสั้นจะมีระยะเวลาตั้งแต่ไม่กี่เดือนไปจนถึงสามปีซึ่งมอบความยืดหยุ่นสำหรับธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงหรือการทดสอบตลาดใหม่ ๆ ในทางกลับกัน การเช่าโกดังระยะยาวจะเกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าที่มีระยะเวลาสามถึงสิบปีหรือมากกว่านั้น จะให้ความมั่นคงและค่าใช้จ่ายที่สามารถคาดการณ์ได้สำหรับบริษัทที่มีความต้องการในการจัดเก็บสินค้าที่สม่ำเสมอ

01.08.2024

Cross-docking คืออะไร? พร้อมกลยุทธ์และประโยชน์ในการนำไปใช้

มาดูข้อดีของการกระจายสินค้าแบบครอส-ด็อกกิ้ง (Cross-Docking) สำหรับการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ พร้อมวิธีลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้า เพิ่มความเร็วในการจัดส่ง และการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ

06.06.2024

การออกแบบและก่อสร้างตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานสีเขียวและสิ่งแวดล้อม

21.03.2024

อัปเดตความเปลี่ยนแปลงที่คลังสินค้าต้องรู้!!! พร้อมเทคนิคปรับตัวให้รองรับความต้องการของตลาดยุคใหม่

สถานการณ์ตลาดคลังสินค้าในเขตกรุงเทพฯ กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อันเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง การเป็นผู้นำตลาดจึงหมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

21.03.2024

‘โลจิสติกส์และการเชื่อมต่อ’ ข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของนิคมอุตสาหกรรมในชลบุรี

นิคมอุตสาหกรรมชลบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่กลยุทธ์บริเวณใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบโลจิสติกส์และการเชื่อมต่อที่สะดวกสบาย จึงดึงดูดธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ตลาดที่เติบโตอย่างไม่หยุดนิ่ง ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ล้ำสมัย ศูนย์กลางเหล่านี้กำลังขับเคลื่อนให้เกิดเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการค้าในพื้นที่ชลบุรี

21.03.2024

แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน จำเป็นแค่ไหนสำหรับคลังสินค้าสมัยใหม่?

ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนได้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ‘ความยั่งยืน’ จึงไม่ได้เป็นเพียงคำศัพท์ยอดนิยมอีกต่อไป แต่กลายเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมอีกด้วย คลังสินค้าสมัยใหม่ถือเป็นภาคส่วนแรก ๆ ที่ได้นำแนวทางปฏิบัติ ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนี้มาใช้ พร้อม ๆ กับการเพิ่มประสิทธิภาพ และพิสูจน์ให้เห็นว่าการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นมากกว่าการช่วยโลก แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนได้เช่นกัน

14.02.2023

ผู้ประกอบการต้องรู้! ขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในไทย ขออย่างไร? ที่ไหน?

หลังจากได้มีการออกประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ. โรงงานฉบับใหม่ ไปเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงื่อนไขเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงกฎหมายครั้งนี้ คือ เพื่อลดภาระของผู้ประกอบกิจการโรงงาน เพิ่มความคล่องตัว ทำให้เกิดความต่อเนื่องในภาคการผลิต ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ได้ศึกษาข้อกฎหมายฉบับใหม่นี้ ดังนั้น เราจะพาทุกท่านไปอัปเดตรายละเอียดของ พ.ร.บ. โรงงานฉบับใหม่ ในแง่ของการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานว่าเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง

13.12.2022

เปลี่ยนคลังสินค้าธรรมดา ให้กลายเป็น ‘คลังสินค้าอัจฉริยะ’ ด้วยอุปกรณ์ IoT

หากเปรียบเทียบโลกเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับโลกในวันนี้ เราคงเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในหลาย ๆ ด้าน แล้วเคยสงสัยไหมว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คืออะไร? คำตอบก็คือ “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” (Internet of Things) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘เทคโนโลยี IoT’ ที่ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา โดยเทคโนโลยี IoT จะทำหน้าที่เชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่เราไม่ต้องป้อนข้อมูลใด ๆ ปัจจุบัน IoT เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับธุรกิจ โรงงาน รวมถึงคลังสินค้า อย่างเช่น Smart Factory ที่ได้นำ IoT มาใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงกัน ซึ่งรูปแบบการประยุกต์ใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของผู้พัฒนาที่มุ่งเป้าในการมอบความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งยังแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยี IoT ยังช่วยลดความผิดพลาดของการจัดการสินค้าคงคลังได้ถึง 30% ซึ่งแน่นอนว่าย่อมช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญ

28.10.2022

เช่าคลังสินค้า ชลบุรี

ในแง่ของการทำธุรกิจและการลงทุน จังหวัดชลบุรีมีพื้นที่ที่กว้างขวาง ทำเลที่ตั้งดีเยี่ยม และสิทธิพิเศษจากโครงการ EEC จึงเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การลดหย่อนภาษี ค่าเช่าที่ถูกกว่า และการเข้าถึงสาธารณูปโภค นอกจากนี้ยังเข้าถึงระบบขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้ง่าย ทั้งมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 สนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง มีรถไฟหลายสายที่เชื่อมระหว่างเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ (ผ่านสงขลา) กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช ระนอง ปัตตานี อยุธยา ฯลฯ ทำให้การเช่าโกดัง ชลบุรีมีความสะดวกอย่างมาก

28.10.2022

5 กฎเหล็กการเลือกทำเลสำหรับเช่าโรงงาน

ในการเลือกเช่าโรงงานให้เช่ามีปัจจัยที่ควรจะนำมาพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานให้เช่าที่เหมาะสมกับธุรกิจ เพราะหากผู้ประกอบการไม่เจาะจงเลือกทำเลที่ดีแล้ว อาจส่งผลให้ การเดินทางคมนาคมหรือการขนส่งสินค้าไม่สะดวกสบาย ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจในอนาคตได้

28.10.2022

ข้อดีในการเช่าโรงงาน ชลบุรี ที่ดีต่อธุรกิจของคุณ

แม้กรุงเทพมหานครจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่หากจะกล่าวถึงศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของไทยคงหนีไม่พ้นจังหวัดชลบุรีอย่างแน่นอน ซึ่งจังหวัดชลบุรีนี้เองที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมากถึง 15 แห่ง เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์พลาสติก และอื่น ๆ อีกมากมาย การเลือกเช่าโรงงาน ชลบุรี จึงดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ที่กว้างขวาง สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ค่าครองชีพต่ำ และทำเลที่ตั้งดีเยี่ยม อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ซึ่งมอบข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้กับการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์นั่นเอง

28.10.2022

คลังสินค้าและการบริหารคลังสินค้า

กิจการค้าขายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับชุมชน ประเทศ ไปจนถึงระดับโลกโดยมี ‘คลังสินค้า’ (Warehouse) ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนและสร้างความสมดุลในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หรือกระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการในแง่ของแหล่งที่ใช้เก็บทั้งวัตถุดิบสำหรับใช้ใน การผลิต (Raw Material) สินค้าสำเร็จรูป หรือสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วรอส่งลูกค้า (Finished Goods) ดังนั้น การมีคลังสินค้าจึงช่วยลดปัญหาวัตถุดิบไม่พอผลิต ทำให้การผลิตดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถจัดส่งสินค้าได้ทันเวลา ยิ่งหากมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดียิ่งจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ ก่อให้เกิดสภาพคล่องและผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) ในเวลาอันรวดเร็วคลังสินค้าและการบริหารคลังสินค้าจึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้การประกอบธุรกิจค้าขายบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้

01.08.2022

8 เคล็ด (ไม่) ลับ เลือกคลังสินค้าอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจ

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาคลังสินค้าแห่งใหม่ หรือต้องการขยายคลังสินค้าเพิ่มเติม สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องรู้ถึงความต้องการของธุรกิจของคุณเพื่อให้คุณทราบได้ทันทีว่าคลังสินค้าใดเหมาะสมสำหรับธุรกิจ หรือคลังสินค้าใดไม่เหมาะสำหรับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บสินค้า การกระจายสินค้า ไปจนถึงการจัดจำหน่ายโดยการนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มาร่วมพิจารณาเพื่อให้สามารถเลือกโรงงานและโกดังคลังสินค้าที่มีทำเลเหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด

07.07.2022

คลังสินค้าแบบ Built-to-Suit คืออะไร? ทำไมคลังสินค้า Built-to-Suit ถึงเหมาะกับธุรกิจของท่าน

การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ได้ก่อให้เกิดความต้องการในการใช้งานคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซหลาย ๆ รายมียอดขายเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เพราะผู้บริโภคจำนวนมากหันมาซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันไปจนถึงยารักษาโรค ผู้ประกอบการธุรกิจทั้งผู้ค้าและผู้ให้บริการโลจิสติกส์จึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่คลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในบางครั้ง การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้มักตามมาด้วยงบประมาณลงทุนก้อนโต จนอาจทำให้โอกาสในการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการบางรายถูกจำกัดไปโดยปริยาย แต่ในปัจจุบัน การลงทุนในเรื่องดังกล่าวนั้นมีทางเลือกมากขึ้น หากผู้ประกอบการเปลี่ยนมุมมองจากการเป็น “เจ้าของทั้งหมด” มาเป็น “เจ้าของร่วม” ก็จะทำให้ท่านสามารถลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพดีได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว เช่นเดียวกับการลงทุนในคลังสินค้าแบบ Built-to-Suit

22.06.2022

คลังสินค้าห้องเย็นคืออะไร? พร้อมสิ่งที่ควรรู้ก่อนเช่าคลังสินค้าห้องเย็น

คลังสินค้าห้องเย็น หรือ คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Storage Warehouse) คือ พื้นที่จัดเก็บสินค้าที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นให้เป็นไปตามที่กำหนด โดยไม่ปล่อยให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศภายนอกตลอด 24 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าบางประเภท ซึ่งต้องเก็บในอุณภูมิต่ำเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า ทั้งนี้ คลังสินค้าห้องเย็นจะมีระดับความเย็นตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ไปจนถึงอุณหภูมิติดลบ ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าที่จัดเก็บ

12.05.2022

AI และระบบอัตโนมัติส่งผลกระทบต่อการจัดการคลังสินค้าในประเทศไทยอย่างไร?

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หรือคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่าง ๆ อาทิเช่น การรับรู้ เรียนรู้ ให้เหตุผล คิด วิเคราะห์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจในรูปแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รวมถึงในวงการการบริหารจัดการคลังสินค้าในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว เหตุผลเนื่องมาจากธุรกิจ E-Commerce ที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงในปัจจุบัน

07.04.2022

สร้างโรงงาน VS เช่าโรงงาน แบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ?

สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจหรือต้องการขยายธุรกิจที่ต้องใช้โรงงานจะเห็นได้ว่าโรงงานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการประกอบการอย่างมาก ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ตามมาที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านยังลังเลใจจนหาคำตอบไม่ได้ก็คือจะลงทุนสร้างโรงงานเองหรือเลือกเช่าโรงงานดีกว่า? เนื่องจากทั้ง 2 รูปแบบนี้ก็มีความแตกต่าง พร้อมทั้งมีปัจจัยหลาย ๆ ด้านต้องพิจารณาให้เหมาะสมมากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการการตัดสินใจระหว่างสร้างโรงงานและเช่าโรงงาน จะเลือกแบบไหนที่ตอบโจทย์กับธุรกิจมากที่สุด วันนี้เรามีคำตอบ

08.03.2022

ทำไมอัตราการเช่าคลังสินค้าในเอเชียจึงเพิ่มขึ้นสวนทางกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

นับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทั่วโลกในช่วงปลายปี 2562 อุตสาหกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 43.5% คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.87 ล้านล้านเหรียญทั่วโลก และกระแสหมุนเวียนเกือบครึ่งหนึ่งมาจากภูมิภาคเอเชีย และในปี 2565 นี้จะเห็นได้ว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมดังกล่าวยังเติบโตขึ้นอีก แต่ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?

03.02.2022

ประโยชน์ของการเช่าโรงงาน เช่าคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการอาจนึกไม่ถึง

เมื่อเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือขยายธุรกิจ หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือการมองหาโรงงานหรือคลังสินค้าที่เหมาะสมที่สามารถรองรับภาระหน้าที่งานได้อย่างครบถ้วน ดังนั้น คำถามหนึ่งที่นักธุรกิจต้องหรือผู้ประกอบการต้องเผชิญ คือ ควรเช่าโรงงาน เช่าโกดังสินค้า หรือดำเนินการสร้างโกดังเองดี? ในบทความนี้ เราจะมาดูข้อดีต่าง ๆ ของการเช่าโรงงาน เช่าคลังสินค้าเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ และทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าแนวทางปฏิบัติใดจะดีสำหรับคุณและธุรกิจของคุณมากที่สุด

14.10.2021

GMP คืออะไร

ก่อนเริ่มกิจการโรงงานใด ๆ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎ ระเบียบ และมาตรฐานหลายประการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์และส่งออกผลผลิตและผลิตภัณฑ์คุณภาพไปยังมือผู้บริโภค โดยเฉพาะมาตรฐาน GMP ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มไปจนถึงเครื่องสำอาง อาหารเสริม และยาโดยตรง การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GMP เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง เนื่องจาก GMP เป็นหนึ่งในเครื่องการันตีว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในโรงงานนั้น ๆ จะมีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสำหรับการจำหน่ายไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับมาตรฐาน GMP เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกท่านได้เข้าใจภาพรวมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจการของท่านต่อไป

14.10.2021

ความท้าทายของห่วงโซ่อุปทานและเคล็ดลับการผลักดันการพัฒนาธุรกิจคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องออกมาตรการปิดประเทศ ทำให้การส่งออกสินค้าที่ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย วิกฤตการณ์ดังกล่าวยังถือเป็นบททดสอบสำคัญของธุรกิจห่วงโซ่อุปทานที่ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ แล้วผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจห่วงโซ่อุปทานจะสามารถอยู่รอดอย่างไรในภาวะวิกฤต? บทความนี้จะมาเผยเคล็ดลับการผลักดันการพัฒนาธุรกิจคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้

01.09.2021

ข้อควรรู้ก่อนเช่าโรงงานให้เช่า

การเช่าโรงงานถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการและนักธุรกิจรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เนื่องจากการเช่าโรงงานนั้นสามารถตอบโจทย์ในเรื่องของความสะดวก ความประหยัด และความคล่องตัว ทำให้ผู้ประกอบการเลือกเช่าโรงงานเพื่อทำธุรกิจกันมากขึ้น โดยข้อควรรู้ก่อนเช่าโรงงานให้เช่ามีดังนี้

11.08.2021

คลังสินค้าคืออะไร? ทำความรู้จักกับคลังสินค้าให้มากขึ้นก่อนเช่าคลังสินค้า

คลังสินค้า (Warehouse) คือ สถานที่ที่ใช้สำหรับการวาง เก็บ หรือพักสินค้าเพื่อรอการกระจายหรือการขนส่ง ในบางครั้งอาจมีการใช้คำเรียกอื่น ๆ เช่น โกดัง โรงเก็บสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วมักถูกใช้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ค้าส่ง รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งหรือโลจิสติกส์ ซึ่งคลังสินค้านี้มักจะมีการออกแบบเฉพาะ

02.08.2021

สร้างแนวปฏิบัติในการจัดเก็บสินค้าอันตรายอย่างไร ให้เกิดความปลอดภัยภายในคลังสินค้าอย่างสูงสุด

การทำงานในคลังสินค้า โดยเฉพาะคลังสินค้าที่มีการจัดเก็บสินค้าอันตรายนั้น นอกจากเจ้าของธุรกิจและผู้จัดการคลังสินค้าจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อสินค้าตามแนวปฏิบัติในการจัดเก็บสินค้าอันตรายแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยภายในคลังสินค้าเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานของตน เนื่องจากคลังสินค้าอันตรายส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยเครื่องจักรกลหนัก ระบบไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน สารเคมีต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดและความสูญเสียได้